top of page

ภาษาต่างประเทศ

ภาษาต่างประเทศ คือภาษาอื่น ๆ ที่บุคคลหนึ่งไม่ได้ใช้สื่อสารพูดคุยในเวลาปกติ สำหรับผู้ที่ใช้ภาษาใดภาษาหนึ่งหรือมากกว่าเป็นหลัก จะถือว่าภาษาอื่นเป็นภาษาต่างประเทศ ไม่เพียงเฉพาะภาษาอังกฤษที่อาจนับเป็นภาษาต่างประเทศตามความหมายข้างต้น แต่ก็ยังมีรูปแบบอื่นของภาษาต่างประเทศด้วย เช่นภาษาญี่ปุ่นโบราณถือเป็นภาษาต่างประเทศในประเทศญี่ปุ่น เพราะไม่ได้ใช้สื่อสารในเวลาปกติ ภาษาต่างประเทศยังหมายถึงภาษาที่มิใช่ภาษาประจำประเทศบ้านเกิดของผู้ที่กล่าวถึง เช่นผู้ที่พูดภาษาอังกฤษแต่ไปอาศัยอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น อาจกล่าวได้ว่าภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาต่างประเทศของบุคคลนั้น อย่างไรก็ดีคำอธิบายดังกล่าวก็ไม่ได้ครอบคลุมความหมายทั้งหมดของคำว่าภาษาต่างประเทศ และการแบ่งประเภทเช่นนี้ก็มักทำให้เกิดความเข้าใจผิดอยู่มาก

เด็กบางคนอาจเรียนรู้มากกว่าหนึ่งภาษาตั้งแต่เกิดหรือตั้งแต่อายุยังน้อย เด็กกลุ่มนี้จัดอยู่ในกลุ่มบุคคลสองภาษาหรือหลายภาษา ซึ่งมีภาษาแม่หลายภาษา และไม่มีภาษาใดที่เป็นภาษาต่างประเทศสำหรับพวกเขาเลย แม้ว่าภาษาเหล่านั้นอาจเป็นภาษาต่างประเทศสำหรับคนส่วนใหญ่ในประเทศที่เด็กเกิดก็ตาม

คำภาษาไทยที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ

จากสาเหตุข้างต้น ไทยได้ยืมคำภาษาต่าง ๆ เข้ามาใช้ปะปนในภาษาไทยหลายภาษาด้วยกัน ดังนี้

  • บาลี กัญญา ขัตติยะ วิชา สันติ อิตถี

  • สันสกฤต บริษัท โฆษณา ประกาศ ภรรยา แพทย์

  • จีน ก๋วยเตี๋ยว ซาลาเปา เต้าฮวย บะหมี่ ลิ้นจี่

  • อังกฤษ กอล์ฟ โปรตีน คลินิก ฟอสฟอรัส นิวเคลี์ยร

  • เขมร กังวล ถนน บำเพ็ญ เผด็จ เสวย

  • ชวา-มลายู กริช กระดังงา ซ่าหริ่ม ปาหนัน อังกะลุง อุรังอุตัง

  • เปอร์เซีย กุหลาบ คาราวาน ตราชู บัดกรี สักหลาด

  • โปรตุเกส กะละแม กะละมัง สบู่ เลหลัง ปิ่นโต

  • ฝรั่งเศส กงสุล ครัวซองต์ คูปอง แชมเปญ บุฟเฟ่ต์

  • ญี่ปุ่นกิโมโน คาราเต้ ซูโม ยูโด สุกี้ยากี้

  • ทมิฬ กะไหล่ กุลี กานพลู กำมะหยี่ อาจาด

  • อาหรับ กะลาสี การบูร กั้นหยั่น กะไหล่ ฝิ่น

  • มอญ มะ เม้ย เปิงมาง พลาย ประเคน

  • พม่า หม่อง กะปิ ส่วย

bottom of page